ประวัติความเป็นมา
งาน คล้องช้างจังหวัดสุรินทร์ถือกำเหนิดมาช้านานโดยการไปคล้องช้างในป่าชายแดน ไทย กัมพูชา โดยชาวกูยซึ่งใช้ภาษากูยในการสื่อสาร การคล้องช้างเรียกในภาษากูยว่า "กอบอาจีง" ที่รู้ก็เพราะผมเป็นชาวกูย คนสุรินทร์หลาว ย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาสมเเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุง ศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางโคราช พระองค์ทรงให้ทหารติดตาม จนถึงชุมชนชาวกูยซึ่งชาวกูยมีความชำนาญการอย่างยิ่งในการจัลช้างและคล้อง ช้าง สามารถนำช้างเผือกกลับกรุงศรีอยุธยาได้ส่งผลให้หัวหน้าคณะของชาวกูยที่ ติดตามช้างได้รับความดีความชอบ และหนึ่งในนั้นก็คือ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์ จางวาง ซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก จนปัจจุบันลูกหลานชาวกูยยังคงสืบทอดการคล้องช้าง เปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว เพียงแต่ว่าไม่สามารถไปคล้องช้างตามแนวชายแดนได้เหมือนเดิมเพราะติดปัญหาชาย แดนระหว่างประเทศงานแสดงช้างประจำปี จังหวัดสุรินทร์
ประวัติ ของงานช้างเริ่มขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการจัดงานฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ และนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยที่มีอาชีพเลี้ยงช้างได้นำช้างของ ตนมาจัดแสดงและจัดขบวนแห่ช้างให้ประชาชนทั่วไปได้ชม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปอย่างมาก และกลางคืนจะมีมหรสพสมโภชตลอดคืน และได้กลายเป็นงานช้างประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ และโด่งดังไปทั่วโลก งานช้างจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้นประมาณกลางเดือน พฤศจิกายนของทุกปีและมีงานกาชาดจังหวัดจัดแสดงประมาณ 1 สปดาห์ ส่วนงานแสดงช้างจะเป็นช่วงวันเสาร์และอาทิตย์
งานเลี้ยงอาหารช้าง การเซ่นไหว้ จ.สุรินทร์
เยี่ยม ชมหมู่บ้านช้างชาวกูย หมู่ที่ 9 และ หมู่ 13 บ.ตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (ถนนสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ผ่านอำเภอจอมพระ วิ่งมาเรื่อยก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ให้ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกหมู่บ้านช้างชาวกูยยินดีต้อนรับ