วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

งานช้างจังหวัดสุรินทร์

ประวัติความเป็นมา

งาน คล้องช้างจังหวัดสุรินทร์ถือกำเหนิดมาช้านานโดยการไปคล้องช้างในป่าชายแดน ไทย กัมพูชา โดยชาวกูยซึ่งใช้ภาษากูยในการสื่อสาร การคล้องช้างเรียกในภาษากูยว่า "กอบอาจีง" ที่รู้ก็เพราะผมเป็นชาวกูย คนสุรินทร์หลาว ย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาสมเเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุง ศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางโคราช พระองค์ทรงให้ทหารติดตาม จนถึงชุมชนชาวกูยซึ่งชาวกูยมีความชำนาญการอย่างยิ่งในการจัลช้างและคล้อง ช้าง สามารถนำช้างเผือกกลับกรุงศรีอยุธยาได้ส่งผลให้หัวหน้าคณะของชาวกูยที่ ติดตามช้างได้รับความดีความชอบ และหนึ่งในนั้นก็คือ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์ จางวาง ซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก จนปัจจุบันลูกหลานชาวกูยยังคงสืบทอดการคล้องช้าง เปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว เพียงแต่ว่าไม่สามารถไปคล้องช้างตามแนวชายแดนได้เหมือนเดิมเพราะติดปัญหาชาย แดนระหว่างประเทศ 


งานแสดงช้างประจำปี จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ ของงานช้างเริ่มขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการจัดงานฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ และนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยที่มีอาชีพเลี้ยงช้างได้นำช้างของ ตนมาจัดแสดงและจัดขบวนแห่ช้างให้ประชาชนทั่วไปได้ชม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปอย่างมาก และกลางคืนจะมีมหรสพสมโภชตลอดคืน และได้กลายเป็นงานช้างประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ และโด่งดังไปทั่วโลก งานช้างจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้นประมาณกลางเดือน พฤศจิกายนของทุกปีและมีงานกาชาดจังหวัดจัดแสดงประมาณ 1 สปดาห์ ส่วนงานแสดงช้างจะเป็นช่วงวันเสาร์และอาทิตย์


งานเลี้ยงอาหารช้าง การเซ่นไหว้ จ.สุรินทร์

เยี่ยม ชมหมู่บ้านช้างชาวกูย หมู่ที่ 9 และ หมู่ 13 บ.ตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (ถนนสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ผ่านอำเภอจอมพระ วิ่งมาเรื่อยก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ให้ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกหมู่บ้านช้างชาวกูยยินดีต้อนรับ

ค่าเข้าชม

อัตราค่าธรรมเนียมค่าเข้าชมการแสดงช้าง 
ชาวไทย 
เด็ก 50 บาท (สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร) 
ผู้ใหญ่ 100 บาท

ชาวต่างประเทศ 
เด็ก 150 บาท (สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร) 
ผู้ใหญ่ 200 บาท


การแสดงช้าง

กิจกรรมการแสดงช้าง
การแสดงช้างของศูนย์อนุรักษ์ มี 3 รอบ ได้แก่ 
รอบแรกเวลา 10:00 นาฬิกา 
รอบที่สองเวลา 11:00 นาฬิกา 
รอบสุดท้ายเวลา 13:30 นาฬิกา 
โดยใช้ช้างประมาณ 15 เชือกในการแสดง และใช้เวลาแสดงประมาณ 40 นาที 

จุดเด่นของการแสดงช้างของศูนย์ิอนุรักษ์ช้างไทยได้แก่การสาธิตการทำไม้ด้วยช้างซึ่งแพร่หลายในอดีตและถูกห้ามในปี พศ. 2532 นอกเหนือจากการแสดงความสามารถของช้างที่แล้ว การสาธิตการทำไม้ด้วยช้างยังเป็นการแสดงความสามารถของควาญช้างในการควบคุมช้างในการทำไม้อีกด้วย อาทิเช่น การใช้ภาษาในการควบคุม ซึ่งมีมากกว่า 35-40 คำ และการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น

ด้านศิลปะ มีการแสดงความสามารถของช้างเช่น ช้างแสดงการเล่นดนตรี และแสดงการวาดภาพ ได้แก่ ภาพตามจิตนาการ และ ภาพเหมือนจริง โดยช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยวาดภาพครั้งแรกในปี พศ 2540และ ระหว่างการแสดงของช้าง นักท่องเที่ยวสามารถซื้อรูปวาดช้างเป็นของที่ระลึกได้ และยังสามารถเลือกรูปวาดแบบต่างๆในห้องแสดงผลงานของช้างตรงบริเวณลานแสดงช้าง















ต้นสาสะลังกา

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ  ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งหรือตามลำต้น มีกลิ่นหอม กลีบดอก 6 กลีบ สีชมพูอมเหลืองหรือชมพูอมแดง เกสรเพศผู้ จำนวนมาก ส่วนล่างสีขาวหรือเหลือง ส่วนบนสีชมพู ปลายสุดสีเหลือง ผลเป็นผลสด สีน้ำตาล ทรงกลม ขนาดใหญ่ เมล็ดสีน้ำตาล









ภายในหมู่บ้าน

ลักษณะการเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง เหมือนการเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้านักท่องเที่ยวได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังจะได้สัมผัสการดำรงชีวิตของ ชาวส่วย พร้อมทั้งจะได้พบปะพูดคุยกับหมอช้าง ที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา รวมทั้งยังสามารถเดินทางชมจุดบริเวณที่แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลไหลมารวมกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนหย่อนใจ และชวนให้ศึกษาในเชิงของธรรมชาติด้วย








วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ศูนย์คชศึกษา

ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านตากลาง แต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ณ บ้านตากลาง จ. สุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก











ยินดีต้อนรับ

ชาวบ้านตากลาง ดั้งเดิมเป็น ชาวส่วย (กูย) หรือ กวย ที่มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลาง ไม่สามารถไปคล้องช้าง เช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้าง และฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของจังหวัดทุกปี




เมนูเด็ด






สินค้าที่ระลึก